สวิตช์
(switch)
เป็นอุปกรณ์เครือข่ายเช่นเดียวกันกับฮับ
( hub)
และมีหน้าที่คล้ายกับฮับมาก แต่มีความแตกต่างที่ ในแต่ละพอร์ต (port)
จะมีความสามารถในการส่งข้อมูลได้สูงกว่า เช่น สวิตช์ที่มีความเร็ว 10
Mbps นั้น จะหมายความว่า
ในแต่ละพอร์ตจะสามารถส่งข้อมูลได้ที่ความเร็ว 10 Mbps และนอกจากนั้นเครื่องทุกเครื่องที่ต่อมายังสวิตช์ยังไม่ได้อยู่ใน
Collision Domain เดียวกันด้วย (ซึ่งถ้าฮับจะอยู่)
นั่นหมายความว่าแต่ละเครื่องจะได้ครอบครองสายสัญญาณแต่เพียงผู้เดียว
จะไม่เกิดปัญหาการแย่งสายสัญญาณ และการชนกันของสัญญาณเกิดขึ้น
สวิตช์จะมีความสามารถมากกว่าฮับ
แต่ยังมีการใช้งานอยู่ในวงจำกัดเพราะราคายังค่อนข้างสูงกว่าฮับอยู่มาก
ดังนั้นจึงมีการนำสวิตช์มาใช้ในระบบเครือข่ายที่ต้องการแบ่ง domain เพื่อเพิ่มความเร็วในการติดต่อกับระบบ โดยอาจนำสวิตช์มาเป็นศูนย์กลาง
และใช้ต่อเข้ากับเครื่องที่มีการเชื่อมต่อกับเครื่องอื่น ๆ เป็นจำนวนมาก ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นเครื่องเซิร์ฟเวอร์
เพื่อจะได้ส่งข้อมูลได้ทีละมาก ๆ และส่งด้วยความเร็วสูง
การที่สวิตช์สามารถทำงานได้เร็วกว่าฮับนั้น
นอกจากสวิตช์จะสามารถส่งข้อมูลออกได้มากกว่าแล้ว ในสวิตช์ยังมี route table ซึ่งเป็นหน่วยความจำของสวิตช์ ที่สามารถจำได้ว่าพอร์ตใดมี IP
address หรือ MAC address ใดทำการเชื่อมต่ออยู่บ้าง
ซึ่งทำให้การส่งข้อมูลเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว
และยังไม่เป็นการส่งข้อมูลในลักษณะกระจายไปทุกเครื่องของเครือข่ายที่เรียกว่า broadcast
ซึ่งเป็นการสิ้นเปลือง bandwidth โดยไม่จำเป็น
Collision Domain
คำว่า collision มีความหมายว่า การชนกัน ซึ่งในทางคอมพิวเตอร์จะหมายความถึง
การที่เครื่องคอมพิวเตอร์ในระบบเครือข่ายมากกว่า 1 เครื่องพยายามที่จะทำการส่งข้อมูลในเวลาเดียวกัน
ทำให้เกิดการชนกันของข้อมูลที่ทำการส่ง ซึ่งคำว่า collision domain นั้นจะมีความหมายว่าเครื่องที่อยู่ในกลุ่มเดียวกัน และมีความเป็นไปได้ที่จะทำให้เกิด
collision ขึ้นได้ collision จะมีโอกาสเกิดได้น้อยหากว่าจำนวนเครื่องที่อยู่ใน
collision domain เดียวกันมีจำนวนน้อย
ซึ่งสวิตช์จะทำให้เครือข่ายที่เชื่อมต่อเข้ากันแยกออกเป็นโดเมนย่อย ๆ ดังรูป
จัดอยู่ใน
OSI
Data Link Layer และ Network Layer
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น